หัวข้อ   “ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ ในช่วง
              เทศกาลสงกรานต์”
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ  พบว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
ร้อยละ 53.4 สนใจเข้าร่วมงานเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึง  ขณะที่ร้อยละ 24.5 ไม่สนใจ
และร้อยละ 22.1 ไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์  โดยสถานที่ที่ตั้งใจจะไปร่วมงาน
เทศกาลสงกรานต์ อันดับแรกได้แก่ ถนนข้าวสาร (ร้อยละ 17.7)  รองลงมาคือ จังหวัดเชียงใหม่
(ร้อยละ 12.9)   และถนนสีลม (ร้อยละ 7.8)    ส่วนสิ่งที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกังวล
มากที่สุดหากเข้าร่วมเทศกาลสงกรานต์  อันดับแรกได้แก่  อุบัติเหตุ และความปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สิน (ร้อยละ 35.7)   รองลงมาคือ การจราจรติดขัด (ร้อยละ 15.5)   และการเล่น
สงกรานต์ด้วยความรุนแรง (ร้อยละ 12.2)
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 สำหรับสิ่งที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาตินึกถึงเป็นอันดับแรก เมื่อคิดถึงกรุงเทพฯ
ได้แก่ พระบรมหาราชวัง (ร้อยละ 25.2)  รองลงมาคือ ถนนข้าวสาร (ร้อยละ 9.0)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) (ร้อยละ 8.6)    ยิ้มสยาม อัธยาศัยไมตรี ความเป็นมิตร
ของคนไทย (ร้อยละ 7.3)   และแม่น้ำเจ้าพระยา (ร้อยละ 5.0)    ขณะที่สิ่งดึงดูดให้นัก
ท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ  มากที่สุดอันดับแรกได้แก่ อาหารไทย
(ร้อยละ 52.9)   รองลงมาคือ โบราณสถาน / โบราณวัตถุ (ร้อยละ 48.8)    และวัฒนธรรม
ประเพณี ศิลปะพื้นบ้าน (ร้อยละ 41.1)
 
                 คะแนนความพึงพอใจในภาพรวมต่อการมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 7.52 คะแนน
จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน  ซึ่งลดลงจากการสำรวจครั้งก่อนเมื่อตอนปลายปี 2553 อยู่ 0.10 คะแนน  โดยความพึงพอใจใน
อาหารและเครื่องดื่มมีคะแนนสูงที่สุด (8.31 คะแนน)   รองลงมาคือศิลปะวัฒนธรรมและประเพณี (8.26 คะแนน)   ขณะที่
ความพึงพอใจในคุณภาพอากาศมีคะแนนต่ำที่สุด (5.33 คะแนน)   ตามมาด้วยความสะอาด (6.28 คะแนน) ทั้งนี้เมื่อสอบถาม
ถึงสิ่งที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอยากให้กรุงเทพมหานครปรับปรุงแก้ไขมากที่สุดอันดับแรกได้แก่  คุณภาพอากาศ
(ร้อยละ 33.4)   รองลงมาคือ การจราจรติดขัด (ร้อยละ 29.6)   และความสะอาด (ร้อยละ 20.6)
   
                 ส่วนความต้องการจะกลับมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ อีกครั้งพบว่า นักท่องเที่ยวร้อยละ 69.4 ระบุว่าต้องการ
จะกลับมาเที่ยวกรุงเทพฯ อีก  และร้อยละ 76.8 ยินดีแนะนำและบอกต่อให้ผู้อื่นมาเที่ยวกรุงเทพฯ   ขณะที่นักท่องเที่ยว
ที่ได้เดินทางมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯร้อยละ 48.6 รู้สึกว่าดีกว่าที่คาดหวังไว้เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเดินทางมา
   
                 เมื่อสอบถามถึงสถานการณ์ทางการเมืองของไทยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติส่วนใหญ่ (ร้อยละ 63.3)
ระบุสถานการณ์ความขัดแย้งและการชุมนุมทางการเมืองส่งผลกระทบน้อยต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. ความสนใจเข้าร่วมเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึง

 
ร้อยละ
สนใจ
โดยสถานที่ที่ ตั้งใจว่าจะไปร่วมงานเทศกาลสงกรานต์ ได้แก่
  - ถนนข้าวสาร ร้อยละ 17.7
  - จ. เชียงใหม่ ร้อยละ 12.9
  - ถนนสีลม ร้อยละ  7.8
  - พัทยา ร้อยละ  7.4
  - อื่นๆ ได้แก่ ภูเก็ต กระบี่ และยังไม่ตัดสินใจ ร้อยละ  7.6
53.4
ไม่สนใจ
24.5
ไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์
22.1
 
 
             2. สิ่งที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกังวลมากที่สุดหากเข้าร่วมเทศกาลสงกรานต์
                 (ถามเฉพาะผู้ที่สนใจเข้าร่วมเทศกาลสงกรานต์)

 
ร้อยละ
อุบัติเหตุ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
35.7
การจราจรติดขัด
15.5
การเล่นสงกรานต์ด้วยความรุนแรง
12.2
การฉวยโอกาสลวนลามทางเพศ
8.4
มีการชุมนุมทางการเมือง
8.0
ไม่กังวล
20.2
 
 
             3. สิ่งที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาตินึกถึงเป็นอันดับแรก เมื่อคิดถึงกรุงเทพฯ คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้นักท่องเที่ยวระบุเอง)

 
ร้อยละ
พระบรมหาราชวัง
25.2
ถนนข้าวสาร
9.0
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
8.6
ยิ้มสยาม อัธยาศัยไมตรี ความเป็นมิตรของคนไทย
7.3
แม่น้ำเจ้าพระยา
5.0
 
 
             4. สิ่งที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ 5 อันดับแรก คือ
                 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
อาหารไทย
52.9
โบราณสถานและโบราณวัตถุ
48.8
วัฒนธรรมประเพณีและศิลปะพื้นบ้าน
41.1
แหล่งช้อปปิ้ง
36.3
อัธยาศัยไมตรีของคนไทย
29.5
 
 
             5. คะแนนความพึงพอใจต่อการมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ ในภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่
                 7.52 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน  ซึ่งลดลงจากการสำรวจครั้งก่อน 0.10 คะแนน
                 หรือคิดเป็นร้อยละ 1.0   โดยความพึงพอใจในอาหารและเครื่องดื่มมีคะแนนสูงสุด
                 และความพึงพอใจในคุณภาพอากาศมีคะแนนต่ำสุด ดังนี้

 
สำรวจเมื่อ
16 – 19 ธ.ค. 53
(คะแนนเต็ม 10)
สำรวจเมื่อ
2 – 3 เม.ย. 54
(คะแนนเต็ม 10)
เพิ่มขึ้น
/
ลดลง
อาหารและเครื่องดื่ม
8.63
8.31
- 0.32
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
8.30
8.26
- 0.04
อัธยาศัยไมตรีของคนไทย
8.51
8.19
- 0.32
แหล่งช้อปปิ้ง
8.26
8.15
- 0.11
ความคุ้มค่าเงิน
8.24
7.99
- 0.25
ความสวยงามน่าประทับใจของสถานที่
ท่องเที่ยว
8.07
7.85
- 0.22
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของ
นักท่องเที่ยว
7.66
7.78
+ 0.12
ข้อมูลด้านการเดินทางท่องเที่ยว
7.57
7.38
- 0.19
ระบบขนส่งสาธารณะ
7.58
7.36
- 0.22
บริการจากมัคคุเทศก์
7.20
7.32
+ 0.12
ความสะอาด
6.14
6.28
+ 0.14
คุณภาพอากาศ
5.29
5.33
+ 0.04
เฉลี่ยรวม
7.62
7.52
- 0.10
            ** หมายเหตุ
                             การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน
                แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน
 
 
             6. สิ่งที่อยากให้กรุงเทพมหานครปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด คือ

 
ร้อยละ
คุณภาพอากาศ
33.4
การจราจรติดขัด
29.6
ความสะอาด
20.6
สินค้าแพง ถูกโก่งราคา
13.9
อื่นๆ  เช่น การสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษของคนกรุงเทพฯ ห้องน้ำ
ไม่เพียงพอต่อความต้องการ
2.5
 
 
             7. เมื่อสอบถามนักท่องเที่ยวถึงความต้องการจะกลับมาเที่ยวกรุงเทพฯ อีกครั้ง พบว่า

 
ร้อยละ
จะกลับมาอีก
69.4
จะไม่กลับมาอีก
5.0
ยังไม่แน่ใจ
25.6
 
 
             8. การยินดีที่จะแนะนำและบอกต่อให้ผู้อื่นมาเที่ยวกรุงเทพฯ พบว่า

 
ร้อยละ
จะแนะนำ
76.8
จะไม่แนะนำ
1.9
ยังไม่แน่ใจ
21.3
 
 
             9. ความรู้สึกต่อการมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ โดยเปรียบเทียบระหว่างก่อนเดินทางมากับเมื่อได้
                 มาเที่ยวแล้ว พบว่า

 
ร้อยละ
ดีกว่าที่คาดหวังไว้
49.5
พอๆ กับที่คาดหวังไว้
39.9
แย่กว่าที่คาดหวังไว้
10.6
 
 
             10. ความเห็นต่อสถานการณ์ความขัดแย้งและการชุมนุมทางการเมือง ส่งผลต่อการตัดสินใจ
                   มาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ เพียงใด พบว่า

 
สำรวจเมื่อ
16 – 19 ธ.ค. 53
(ร้อยละ)
สำรวจเมื่อ
2 – 3 เม.ย. 54
(ร้อยละ)
ส่งผลมาก
โดยแบ่งเป็น
  - ส่งผลมากที่สุด     ร้อยละ   9.1
  - ส่งผลมาก           ร้อยละ 27.6
29.4
36.7
ส่งผลน้อย
โดยแบ่งเป็น
  - ส่งผลน้อยที่สุด     ร้อยละ 23.2
  - ส่งผลน้อย           ร้อยละ 40.1
70.6
63.3
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป บริเวณแหล่งท่องเที่ยวที่
ชาวต่างชาตินิยมไป 7 แห่งของกรุงเทพฯ   ได้แก่ 1) ถนนข้าวสาร   2) ถนนสีลม   3) ประตูน้ำ - พระพรหม - แยกราชดำริ
4) ตลาดนัดจตุจักร - สวนจตุจักร   5) วัดพระแก้ว - วัดโพธิ์   6) สถานีรถไฟหัวลำโพง - ถนนเยาวราช  
7) ถนนสุขุมวิท - แยกอโศก   8) วัดอรุณราชวราราม  ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 465 คน เป็นเพศชายร้อยละ 54.6 และเพศหญิงร้อยละ 45.4
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน  ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)   และคำถามปลายเปิด (Open Form)
จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  2 - 3 เมษายน 2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 8 เมษายน 2554
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
254
54.6
             หญิง
211
45.4
รวม
465
100.0
อายุ:
 
 
             15 – 30 ปี
211
45.4
             31 – 40 ปี
118
25.4
             41 – 50 ปี
83
17.8
             51 – 60 ปี
35
7.5
             60 ปีขึ้นไป
18
3.9
รวม
465
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
73
15.7
             ปริญญาตรี
253
54.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
136
29.2
             ไม่ระบุการศึกษา
3
0.6
รวม
465
100.0
ภูมิลำเนามาจากทวีป:
 
 
             ทวีปยุโรป
277
59.6
             ทวีปอเมริกา
56
11.9
             ทวีปโอเชียเนีย
24
5.2
             ทวีปเอเชีย
104
22.4
             ทวีปแอฟริกา
4
0.9
รวม
465
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776